ตลอดเดือนพฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา สถาบันอุทยานการเรียนรู้ TK Park ได้เปิดตัวโครงการประกวดออกแบบบอร์ดเกม "Book on Board" เปลี่ยนหนังสือที่ชอบ เป็นบอร์ดเกมที่ใช่↗ พร้อมนำทีมสถาบันบอร์ดเกมเพื่อการเรียนรู้ (IBGL) เดินทางไปจัดกิจกรรม Roadshow ในพื้นที่ภูมิภาค เพื่อให้ผู้สนใจได้รับรู้ รวมถึงได้รับแรงบันดาลใจในการสมัครเข้าประกวด ผ่านการพูดคุยแลกเปลี่ยนกับทีมวิทยากรและผู้ดูแลให้คำปรึกษาจากโครงการฯ
สำหรับกิจกรรม Roadshow ในพื้นที่ภูมิภาค ได้จัดขึ้น 2 ครั้ง ครั้งแรก เมื่อวันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม 2567 ท่ามกลางบรรยากาศอบอุ่น ที่ร้านบอร์ดเกม Time to Table ถนนห้วยแก้ว จ. เชียงใหม่ และสัปดาห์ถัดมา เมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม 2567 ที่ร้านบอร์ดเกม Bewitched Everyday เซ็นทรัล นครราชสีมา อย่างสนุกสนานคึกคัก
TK Park ได้สรุปสาระสำคัญที่จะช่วยให้ผู้สนใจเข้าประกวดออกแบบบอร์ดเกมได้ใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงและเก็บรายละเอียดสุดท้าย ก่อนหมดเขตส่งไอเดียตั้งต้นเข้าร่วมประกวด↗ ในวันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน 2567
รู้จักโครงการฯ
คุณนิวัฒน์ ถุงเงินศิริ นักจัดการความรู้อาวุโส ฝ่ายกิจกรรมการเรียนรู้ สถาบันอุทยานการเรียนรู้ TK Park เล่าถึงโครงการประกวดออกแบบบอร์ดเกม "Book on Board" เปลี่ยนหนังสือที่ชอบ เป็นบอร์ดเกมที่ใช่ ว่าโครงการนี้คือภารกิจต่อเนื่องของสถาบันอุทยานการเรียนรู้ TK Park ในการส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ผ่านบอร์ดเกมด้วยกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ โดยปัจจุบัน TK Park มีบริการให้สมาชิกยืมบอร์ดเกม↗ และมีกิจกรรม TK Board Game Club รองรับผู้เล่นทุกเพศทุกวัยตลอดปี จัดทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือน↗ รวมถึงก่อนหน้านี้ ได้จัดกิจกรรมการอบรม และการประกวดบอร์ดเกมมาแล้วถึง 2 ครั้ง ในรูปแบบ Print & Play (บอร์ดเกมแบบ 2 มิติ ที่พิมพ์เล่นได้เอง ขยายการเข้าถึงได้ง่าย)
สำหรับการประกวดออกแบบบอร์ดเกม "Book on Board" เปลี่ยนหนังสือที่ชอบ เป็นบอร์ดเกมที่ใช่ ในปีนี้ TK Park มองหานักออกแบบบอร์ดเกมทีมละ 1–3 คน เสนอไอเดียโดยใช้แรงบันดาลใจจากหนังสือเล่มโปรด แล้วมาเข้าร่วมกระบวนการพัฒนาเป็นบอร์ดเกมกล่องเล็ก ผ่านกิจกรรมอบรมในรูปแบบเวิร์กช็อปและการดูแลให้คำปรึกษาโดยทีมนักออกแบบผู้คร่ำหวอดในวงการบอร์ดเกม โดย TK Park ดูแลค่าใช้จ่ายพื้นฐานในการเดินทางมาเข้าร่วมกิจกรรมและการพัฒนาตัวอย่างผลงาน อีกทั้งผลงานบอร์ดเกมที่ได้พัฒนาขึ้น ยังมีสิทธิ์ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 90,000 บาท พร้อมโอกาสต่อยอดผลิตบอร์ดเกมและเข้าสู่อุตสาหกรรมบอร์ดเกมต่อไป
อ่านรายละเอียดการรับสมัครประกวดออกแบบบอร์ดเกม "Book on Board" เปลี่ยนหนังสือที่ชอบ เป็นบอร์ดเกมที่ใช่ ได้ที่นี่↗
จากหนังสือ ถึงบอร์ดเกม
ความท้าทายสำคัญของ "Book on Board" ก็คือการคัดเฟ้นสาระสำคัญจากหนังสือเล่มโปรด เพื่อนำเสนอในรูปแบบบอร์ดเกมให้ได้อย่างมีชั้นเชิงและสอดรับกับกลไกเกม ซึ่งหลายคนอาจกังวลใจว่าการนำหนังสือมาทำเป็นบอร์ดเกมจะนำไปสู่ข้อพิพาทหรือเข้าข่ายละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ ในงานนี้ จึงมีการปภิปรายถึงความแตกต่างระหว่างการนำเนื้อเรื่องหรือผลงานกราฟิกมานำเสนอโดยตรง ที่ต้องขออนุญาตหรือจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นกรณีไป กับการนำแรงบันดาลใจ เค้าโครงเรื่อง หรือรูปแบบการเล่าที่ไม่ได้เป็นการคัดลอกข้อความ หรือดัดแปลงงานออกแบบกราฟิกที่ละเมิดกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งอาจเป็นทางเลือกสำหรับนักออกแบบที่ต้องการทดลองแนวทางของตนเองโดยไม่ใช้ต้นทุนมากนัก
อย่างไรก็ตาม วัตถุประสงค์หลักของการนำหนังสือมาเป็นไอเดียตั้งต้นเพื่อพัฒนาบอร์ดเกม คือการแสดงตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมว่าอุตสาหกรรมสร้างสรรค์สามารถเชื่อมโยงและต่อยอดออกไปเป็นการเรียนรู้ในมิติอื่นได้ และการที่เรื่องราวในหนังสือได้ไปปรากฏในรูปแบบใหม่ ๆ ให้คนอื่นได้รู้จักและเพลิดเพลินไปกับเรื่องราวเหล่านั้นไปด้วยกัน ย่อมถือเป็นความภาคภูมิใจอย่างหนึ่งสำหรับคนรักหนังสือ
เทคนิคสำคัญที่สถาบันบอร์ดเกมเพื่อการเรียนรู้ (IBGL) นำมาแบ่งปันเพื่อช่วยให้ผู้สนใจเข้าประกวดในครั้งนี้สามารถตั้งต้นไอเดียได้ง่ายขึ้น คือการเลือกด้วย 3S ได้แก่ การเลือกเฉพาะฉากหรือสถานการณ์ที่ปรากฏในเนื้อเรื่อง (Scene) เลือกเค้าโครงเรื่องโดยไม่เจาะจงรายละเอียด (Story) หรือเลือกเรื่องราวพื้นหลัง บริบท ระบบ หรือกติกาพื้นฐานในจักรวาลของเรื่องเล่าในหนังสือเล่มนั้น (System) เพื่อกำหนดทิศทางและขอบเขตของการออกแบบบอร์ดเกม แล้วจึงออกแบบกลไกการเล่นเพื่อสื่อสารสาระสำคัญส่วนที่เลือกนั้นได้อย่างไม่หลุดโฟกัส
เรียนรู้จากการเล่น
กิจกรรม Roadshow ที่จัดขึ้นทั้ง 2 ครั้ง มีการนำตัวอย่างบอร์ดเกมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจากการประกวดบอร์ดเกมแบบ Print & Play ครั้งก่อนหน้า คือ MAN บอร์ดเกมแนว Abstract Puzzle ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเรื่องสั้น มนุษย์สองร้อยปี (The Bicentennial Man) โดย Isaac Asimov มาให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ทดลองเล่น
ในเกมนี้ ผู้เล่นจะต้องช่วยกันทำให้ อัล หุ่นยนต์ซึ่งเป็นตัวเอกของเกม ผู้ปรารถนาจะกลายเป็นมนุษย์ ค่อย ๆ ทำความปรารถนานี้ให้สำเร็จไปทีละขั้น และต้องเดินทางฝ่าอุปสรรคที่หนักหน่วงขึ้นเมื่อร่างของอัลเปราะบางลง เพราะมีแก่นสารของความเป็นมนุษย์อยู่ในตัวมากขึ้น
MAN คือตัวอย่างชั้นดีที่ทำให้ผู้เล่นเห็นถึงการนำบริบทของเรื่องเล่ามาเป็นแนวคิดหลักของเกม แล้วออกแบบด่านและอุปสรรคที่ซับซ้อนขึ้นอย่างสอดคล้องกับเนื้อเรื่อง จนกลายเป็นบอร์ดเกมที่สนุก กลมกล่อม และสามารถเปิดมิติใหม่ให้กับการอ่านเรื่องสั้นสุดคลาสสิกนี้
ลองเลือก ลองเล่า
เมื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้เทคนิคและลองเล่นเกมด้วยตนเองแล้ว จึงพร้อมที่จะทดลองเลือกหนังสือและตั้งต้นไอเดียออกแบบบอร์ดเกมด้วยตนเอง กิจกรรม Mini-workshop นี้จึงให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เขียนชื่อหนังสือ เลือกเทคนิคจาก 3S ที่ต้องการ และร่างสคริปต์เล่าสาระสำคัญและกลไกเกมที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมคาดว่าจะสอดคล้องกับแนวคิดที่ตนเลือกไว้ แล้วลองนำเสนอแลกเปลี่ยนกัน เพื่อสะท้อนมุมมองกับเพื่อนในโต๊ะเดียวกัน ซึ่งอาจกลายเป็นเพื่อนร่วมทีมกันในการประกวดครั้งนี้ก็ได้
เตรียมเปิด เตรียมปรับ เตรียมเปลี่ยน
สำหรับไฮไลต์ของกิจกรรม Roadshow ทั้งสองครั้ง คือการเปิดเวทีเสวนาของว่าที่วิทยากรและผู้ดูแลให้คำปรึกษาของทีมผู้เข้าประกวดในโครงการนี้ โดยกิจกรรมครั้งแรกที่ จ. เชียงใหม่ คุณธนวัฒน์ ปิ่นนราทิพย์ และคุณกานต์ มานะแก้ว ได้เดินทางไปทักทายและพูดคุยให้คำแนะนำเบื้องต้นกับผู้สนใจเข้าประกวด และกิจกรรม Roadshow ที่ จ. นครราชสีมา วงเสวนาประกอบด้วย คุณธนวัฒน์ ปิ่นนราทิพย์ คุณรัชกร เวชวรนันท์ และคุณเอกภูมิ ภูมิพันธ์
โดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้
- ในการประกวดบอร์ดเกม คณะกรรมการมักมองหาผลงานที่สะท้อนความเป็นตัวของตัวเอง นักออกแบบควรยึดจุดยืนว่าต้องการเล่าเรื่องใด ส่วนใด แต่ควรยืดหยุ่นในส่วนที่เป็นกลไกเกม โดยเฉพาะในขั้นตอนแรก ๆ เพื่อให้สามารถพัฒนาบอร์ดเกมโดยปรับกลไกการเล่นให้สะท้อนตัวเรื่องราวให้ได้ดีที่สุด
- ผู้ออกแบบควรพัฒนาบอร์ดเกมอย่างกระตือรือร้น เปิดรับความคิดเห็นที่สะท้อนกลับมา แต่เลือกปรับทิศทางตามที่เหมาะสม
- ในขั้นตอนพัฒนาบอร์ดเกม ผู้ออกแบบต้องกล้าลองผิดลองถูก ให้เวลากับการบ่มเพาะไอเดีย กล้าแก้ไขทบทวน อาศัยการทำงานร่วมกันในทีม ไม่รีบกระโดดข้ามขั้นไปพัฒนากลไกเกมตั้งแต่แรก เพราะจากตัวอย่างของการประกวดก่อนหน้านี้ ผลผลิตสุดท้ายมักได้รับพัฒนาจนแตกต่างไปจากไอเดียตั้งต้นอย่างเห็นได้ชัด
- กลไกเกมบางอย่างอาจเป็นกลไกซ้ำเดิม ไม่มีความเฉพาะเจาะจง สามารถเข้ากันได้กับเนื้อเรื่องหลากหลาย แต่มักมีจุดอ่อนตรงที่ไม่สามารถสะท้อนแก่นของเนื้อเรื่องของผู้พัฒนาออกมาได้ นี่จึงเป็นเรื่องที่ควรระวัง
- การนำกลไกที่คุ้นเคยมาใช้ไม่ใช่ข้อห้าม แต่ผู้ออกแบบต้องเลือก หาจุดปรับให้เหมาะกับเนื้อหา ใส่รายละเอียดประกอบเข้ามาในเกม เพื่อให้เกิดความรู้สึกสอดคล้องกับเรื่องที่จะเล่า
- การเล่นบอร์ดเกมหลากหลายจะช่วยให้ผู้ออกแบบมีประสบการณ์ต้นทุน สามารถทดลองนำกลไกจากเกมที่เคยเล่นมาผสมผสานในสัดส่วนกำลังดี ปรับปรุงบอร์ดเกมของตนให้ยืดหยุ่น มีมิติ และกลมกลืนขึ้นได้
- ผู้ออกแบบจะได้เห็นผลลัพธ์ของเกมที่ออกแบบก็ต่อเมื่อเกิดการทดลองเล่น (playtest) ซึ่งไม่ใช่แค่การทดลองในจินตนาการของผู้ออกแบบ การ playtest จะช่วยให้เห็นว่ากลไกออกแบบไว้ใช้งานได้จริงหรือไม่ การเล่นลื่นไหลจริงหรือเปล่า มีจุดบกพร่องตรงไหน สอดคล้องกับเรื่องและให้อารมณ์ความรู้สึกสนุกหรือไม่
- หาเวลา หาพื้นที่ ลองไป playtest กับผู้เล่นหลายกลุ่ม เช่น ในร้านบอร์ดเกม ในงานปาร์ตี้ ในพื้นที่เปิด เพื่อให้เห็นสถานการณ์หลายแบบ ได้รับความคิดเห็นจากผู้คนหลากหลายประสบการณ์
- ทบทวนกติกาการสมัคร โดยเฉพาะเรื่องการใส่ชื่อสมาชิกในทีม แต่ละคนสามารถเข้าร่วมทีมได้ทีมเดียว และส่งผลงานได้ทีมละ 1 ผลงานเท่านั้น
- ทบทวนคำสำคัญในโจทย์ให้ดี “หนังสือที่ชอบ” “บอร์ดเกมที่ใช่” “บอร์ดเกมกล่องเล็ก” เพื่อให้บอร์ดเกมที่ออกแบบขึ้นมาตอบโจทย์ได้ทุกข้อ
- หนังสือเล่มที่เลือกมาออกแบบบอร์ดเกม อาจเป็นนิยาย เรื่องสั้น หนังสือสารคดี หรือจิตวิทยาพัฒนาตนเองก็ได้ และหากคัดลอกข้อความหรืองานสร้างสรรค์ที่มีลิขสิทธิ์ ควรตรวจสอบเรื่องการขออนุญาตให้ถูกต้อง
- ความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาในหนังสือกับบอร์ดเกมต้องปรากฏชัด กล่าวคือ เมื่อเล่นแล้วต้องเกิดความรู้สึกถึงหนังสือเล่มนั้น หรือเห็นถึงประเด็นที่ซ่อนอยู่ภายใต้กลไกการเล่น (underlying statement) แก่นของเรื่องราวที่สอดคล้อง เป็นเหตุเป็นผลกัน หรือให้ประสบการณ์คล้ายคลึงกับการอ่านหนังสือเล่มนั้น ๆ
- ผู้ออกแบบบอร์ดเกมอาจขยายความเป็นไปได้ใหม่โดยต่อยอดจากหนังสือเล่มที่เลือกมา เช่น การตีความจากหนังสืออย่างมีชั้นเชิง การเล่าเรื่องภาคต่อจากที่เล่าในหนังสือ การพลิกแพลงจากหนังสือ สร้างมุมมองใหม่ สลับบทบาทของตัวละครเพื่อเล่าคุณค่าแบบใหม่ เป็นต้น
- ในขั้นตอนการพัฒนาบอร์ดเกม รายละเอียดเกี่ยวกับกติกา คำแนะนำ และเงื่อนไขรายละเอียดต่าง ๆ ต้องระบุกำกับไว้กับบอร์ดเกม เช่น กลุ่มอายุ เวลาเล่น ฯลฯ ผู้ออกแบบต้องประเมินให้สอดคล้องกับเป้าหมายของบอร์ดเกมอย่างสมเหตุสมผล เพื่อเป็นกรอบการพัฒนาเกม และคะแนนในส่วนนี้คือคะแนนด้านพัฒนาการในกระบวนการเรียนรู้
- ไอเดียตั้งต้นที่ส่งเข้าประกวดคือหัวใจหลักของบอร์ดเกมที่จะพัฒนาในโครงการฯ ไม่สามารถเปลี่ยนได้ในรอบถัดไป ยกเว้นมีเหตุจำเป็นสุดวิสัย ซึ่งสุดท้ายผลงานจะนำมาเปรียบเทียบกับไอเดียตั้งต้นว่าได้พัฒนาขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
- การนำเสนอไอเดียตั้งต้นเป็นคลิปวิดีโอ ควรร่างให้ครอบคลุมต้นเรื่อง จุดประสงค์ ภาพกว้าง และปลายทางของบอร์ดเกมที่ตั้งใจจะพัฒนา รวมถึงเล่ากลไกชิ้นใหญ่ หรือ action part ว่ากติกากำหนดให้ผู้เล่นทำอะไรในแต่ละรอบ โดยไม่ต้องลงรายละเอียดมาก และบริหารเวลาเล่าองค์ประกอบทั้งหมดให้กระชับ มีรายละเอียด และมีบทสรุป
- การออกแบบกราฟิกควรคำนึงถึงเป็นลำดับหลัง และใส่ใจกับกลไกเกมและผลทดสอบจาก playtest ก่อน ใช้ไอค่อนหรือกราฟิกง่าย ๆ ในขั้นการจัดทำ protopype เพราะการออกแบบกราฟิกเป็นการลงทุนทั้งทรัพยากรและเวลา จึงไม่ควรนำขั้นตอนนี้มาเป็นปัจจัยในการตัดสินใจในระหว่างพัฒนาบอร์ดเกม
- ผู้ออกแบบอาจใช้ภาพกราฟิกที่สร้างขึ้นโดย Generative AI ช่วยได้ แต่ควรศึกษาและวางแผน เพราะหากไม่คุ้นเคยกับการสร้าง prompt และการวางรูปแบบกราฟิกให้ตรงกับความต้องการของบอร์ดเกม อาจทำให้งานล่าช้าและเกิดอุปสรรคใหม่ให้กับกระบวนการผลิต
- การวางแผนกระบวนการพัฒนางานตามขั้นตอนและกำหนดเวลา คือหัวใจหลักของการเข้าร่วมในโครงการนี้ การบริหารเวลาและทรัพยากรจึงสำคัญไม่แพ้การให้ทักษะความรู้และความคิดสร้างสรรค์
- สำหรับลิขสิทธิ์ของบอร์ดเกมที่ออกแบบขึ้นจะเป็นของทีมผู้ออกแบบ โดย TK Park จะขออนุญาตใช้งานเพื่อประโยชน์ของสาธารณะเป็นเวลา 2 ปีหลังสิ้นสุดโครงการฯ เพียงเท่านั้น
สถาบันอุทยานการเรียนรู้ TK Park และสถาบันบอร์ดเกมเพื่อการเรียนรู้ (IBGL) กำหนดจัดกิจกรรม Roadshow อีกครั้ง ที่ TK Park ชั้น 8 centralwOrld ในวันสุดท้ายของการรับสมัครทีมนักออกแบบเข้าร่วมโครงการฯ (วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน 2567) ผู้ที่ลงทะเบียนล่วงหน้าเข้าร่วมงานและได้รับอีเมลยืนยันแล้ว อย่าลืมมาพบกันที่ TK Park
ตลอดเดือนพฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา สถาบันอุทยานการเรียนรู้ TK Park ได้เปิดตัวโครงการประกวดออกแบบบอร์ดเกม "Book on Board" เปลี่ยนหนังสือที่ชอบ เป็นบอร์ดเกมที่ใช่↗ พร้อมนำทีมสถาบันบอร์ดเกมเพื่อการเรียนรู้ (IBGL) เดินทางไปจัดกิจกรรม Roadshow ในพื้นที่ภูมิภาค เพื่อให้ผู้สนใจได้รับรู้ รวมถึงได้รับแรงบันดาลใจในการสมัครเข้าประกวด ผ่านการพูดคุยแลกเปลี่ยนกับทีมวิทยากรและผู้ดูแลให้คำปรึกษา
สำหรับกิจกรรม Roadshow ในพื้นที่ภูมิภาค ได้จัดขึ้น 2 ครั้ง ครั้งแรก เมื่อวันอาทิตย์ที่
19 พฤษภาคม 2567 ท่ามกลางบรรยากาศอบอุ่น ที่ร้านบอร์ดเกม Time to Table ถนนห้วยแก้ว จ. เชียงใหม่ และสัปดาห์ถัดมา เมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม 2567 ที่ร้านบอร์ดเกม Bewitched Everyday เซ็นทรัล นครราชสีมา อย่างสนุกสนานคึกคัก
TK Park ได้สรุปสาระสำคัญที่จะช่วยให้ผู้สนใจเข้าประกวดออกแบบบอร์ดเกมได้ใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงและเก็บรายละเอียดสุดท้าย ก่อนหมดเขตส่งไอเดียตั้งต้นเข้าร่วมประกวด↗ ในวันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน 2567
รู้จักโครงการฯ
คุณนิวัฒน์ ถุงเงินศิริ นักจัดการความรู้อาวุโส ฝ่ายกิจกรรมการเรียนรู้ สถาบันอุทยานการเรียนรู้ TK Park เล่าถึงโครงการประกวดออกแบบบอร์ดเกม "Book on Board" เปลี่ยนหนังสือที่ชอบ เป็นบอร์ดเกมที่ใช่ โครงการนี้คือภารกิจต่อเนื่องของสถาบันอุทยานการเรียนรู้ TK Park ในการส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ผ่านบอร์ดเกมด้วยกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ โดยปัจจุบัน TK Park มีบริการให้สมาชิกยืมบอร์ดเกม↗ และมีกิจกรรม TK Board Game Club รองรับผู้เล่นทุกเพศทุกวัยตลอดปี โดยจัดทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือน↗ รวมถึงได้จัดกิจกรรมการอบรม และการประกวดบอร์ดเกมก่อนหน้านี้มาแล้วถึง 2 ครั้ง ในรูปแบบ Print & Play (บอร์ดเกมแบบ 2 มิติ ที่พิมพ์เล่นเอง ขยายการเข้าถึงได้ง่าย)
สำหรับการประกวดออกแบบบอร์ดเกม "Book on Board" เปลี่ยนหนังสือที่ชอบ เป็นบอร์ดเกมที่ใช่ ในปีนี้ TK Park TK Park มองหานักออกแบบบอร์ดเกมทีมละ 1–3 คน เสนอไอเดียโดยใช้แรงบันดาลใจจากหนังสือเล่มโปรด แล้วมาเข้าร่วมกระบวนการพัฒนาเป็นบอร์ดเกมกล่องเล็ก ผ่านกิจกรรมอบรมในรูปแบบเวิร์กช็อปและการดูแลให้คำปรึกษาโดยทีมนักออกแบบผู้คร่ำหวอดในวงการบอร์ดเกม โดย TK Park ดูแลค่าใช้จ่ายพื้นฐานในการเดินทางมาเข้าร่วมกิจกรรมและการพัฒนาตัวอย่างผลงาน อีกทั้งผลงานบอร์ดเกมที่ได้พัฒนาขึ้น ยังมีสิทธิ์ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 90,000 บาท พร้อมโอกาสต่อยอดผลิตบอร์ดเกมและเข้าสู่อุตสาหกรรมบอร์ดเกมต่อไป
อ่านรายละเอียดการรับสมัครประกวดออกแบบบอร์ดเกม "Book on Board" เปลี่ยนหนังสือที่ชอบ เป็นบอร์ดเกมที่ใช่ ได้ที่นี่↗
จากหนังสือ ถึงบอร์ดเกม
ความท้าทายสำคัญของ "Book on Board" ก็คือการคัดเฟ้นสาระสำคัญจากหนังสือเล่มโปรดเพื่อนำเสนอในรูปแบบบอร์ดเกมให้ได้อย่างมีชั้นเชิงและสอดรับกับกลไกเกม ซึ่งหลายคนอาจกังวลใจว่าการนำหนังสือมาทำเป็นบอร์ดเกมจะนำไปสู่ข้อพิพาทหรือเข้าข่ายละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ ในงานนี้ จึงมีการปภิปรายถึงความแตกต่างระหว่างการนำเนื้อเรื่องหรือผลงานกราฟิกมานำเสนอโดยตรง ที่ต้องขออนุญาตหรือจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นกรณีไป กับการนำแรงบันดาลใจ เค้าโครงเรื่อง หรือรูปแบบการเล่าที่ไม่ได้เป็นการคัดลอกข้อความ หรือดัดแปลงงานออกแบบกราฟิกที่ละเมิดกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งอาจเป็นทางเลือกสำหรับนักออกแบบที่ต้องการทดลองแนวทางของตนเองโดยไม่ใช้ต้นทุนมากนัก
อย่างไรก็ตาม วัตถุประสงค์หลักของการนำหนังสือมาเป็นไอเดียตั้งต้น คือการแสดงตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมว่าอุตสาหกรรมสร้างสรรค์สามารถเชื่อมโยงและต่อยอดออกไปเป็นการเรียนรู้ในมิติอื่นได้ และการที่เรื่องราวในหนังสือได้ไปปรากฏในรูปแบบใหม่ ๆ ให้คนอื่นได้รู้จักและเพลิดเพลินไปกับเรื่องราวเหล่านั้นไปด้วยกัน ย่อมถือเป็นความภาคภูมิใจอย่างหนึ่งสำหรับคนรักหนังสือ
เทคนิคสำคัญที่สถาบันบอร์ดเกมเพื่อการเรียนรู้ (IBGL) นำมาแบ่งปันเพื่อช่วยให้ผู้สนใจเข้าประกวดในครั้งนี้สามารถตั้งต้นไอเดียได้ง่ายขึ้น คือการเลือกด้วย 3S ได้แก่ การเลือกเฉพาะฉากหรือสถานการณ์ที่ปรากฏในเนื้อเรื่อง (Scene) เลือกเค้าโครงเรื่องโดยไม่เจาะจงรายละเอียด (Story) หรือเลือกเรื่องราวพื้นหลัง บริบท ระบบ หรือกติกาพื้นฐานในจักรวาลของเรื่องเล่าในหนังสือเล่มนั้น (System) เพื่อกำหนดทิศทางและขอบเขตของการออกแบบบอร์ดเกม แล้วจึงออกแบบกลไกการเล่นเพื่อสื่อสารสาระสำคัญส่วนที่เลือกนั้นได้อย่างไม่หลุดโฟกัส
เรียนรู้จากการเล่น
กิจกรรม Roadshow ที่จัดขึ้นทั้ง 2 ครั้ง มีการนำตัวอย่างบอร์ดเกมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจากการประกวดบอร์ดเกมแบบ Print & Play ครั้งก่อนหน้า คือ MAN บอร์ดเกมแนว Abstract Puzzle ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเรื่องสั้น มนุษย์สองร้อยปี (The Bicentennial Man) โดย Isaac Asimov มาให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ทดลองเล่น
ในเกมนี้ ผู้เล่นจะต้องช่วยกันทำให้ อัล หุ่นยนต์ซึ่งเป็นตัวเอกของเกม ผู้ปรารถนาจะกลายเป็นมนุษย์ ค่อย ๆ ทำความปรารถนานี้ให้สำเร็จไปทีละขั้น และต้องเดินทางฝ่าอุปสรรคที่หนักหน่วงขึ้นเมื่ออัลมีแก่นสารของความเป็นมนุษย์มาขึ้น และเปราะบางลง
MAN คือตัวอย่างชั้นดีที่ทำให้ผู้เล่นเห็นถึงการนำบริบทของเรื่องเล่ามาเป็นแนวคิดหลักของเกม แล้วออกแบบด่านและอุปสรรคที่ซับซ้อนขึ้นอย่างสอดคล้องกับเนื้อเรื่อง จนกลายเป็นบอร์ดเกมที่สนุก กลมกล่อม และสามารถเปิดมิติใหม่ให้กับการอ่านเรื่องสั้นสุดคลาสสิกนี้
ลองเลือก ลองเล่า
เมื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้เทคนิคและทดลองเล่นเกมด้วยตนเองแล้ว จึงพร้อมที่จะได้ทดลองเลือกหนังสือและตั้งต้นไอเดียออกแบบบอร์ดเกมด้วยตนเอง กิจกรรม Mini-workshop นี้จึงให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เขียนชื่อหนังสือ เลือกเทคนิคจาก 3S ที่ต้องการ และร่างสคริปต์เล่าสาระสำคัญและกลไกเกมที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมคาดว่าจะสอดคล้องกับแนวคิดที่ตนเลือกไว้ แล้วลองนำเสนอแลกเปลี่ยนกัน เพื่อสะท้อนมุมมองกับเพื่อนในโต๊ะเดียวกัน ที่อาจกลายเป็นเพื่อนร่วมทีมในการประกวดครั้งนี้ก็ได้
เตรียมเปิด เตรียมปรับ เตรียมเปลี่ยน
สำหรับไฮไลต์ของกิจกรรม Roadshow ทั้งสองครั้ง คือการเปิดเวทีเสวนาของว่าที่วิทยากรและผู้ดูแลให้คำปรึกษาของทีมผู้เข้าประกวดในโครงการนี้ โดยกิจกรรมครั้งแรกที่ จ. เชียงใหม่ คุณธนวัฒน์ ปิ่นนราทิพย์ และคุณกานต์ มานะแก้ว ได้เดินทางไปทักทายและพูดคุยให้คำแนะนำเบื้องต้นกับผู้สนใจเข้าประกวด และกิจกรรม Roadshow ที่ จ. นครราชสีมา วงเสวนาประกอบด้วย คุณธนวัฒน์ ปิ่นนราทิพย์ คุณรัชกร เวชวรนันท์ และคุณเอกภูมิ ภูมิพันธ์
โดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้
-
ในการประกวดบอร์ดเกม คณะกรรมการมักมองหาผลงานที่สะท้อนความเป็นตัวของตัวเอง นักออกแบบควรยึดจุดยืนว่าต้องการเล่าเรื่องใด ส่วนใด แต่ควรยืดหยุ่นกับส่วนที่เป็นกลไกเกม โดยเฉพาะในขั้นตอนแรก ๆ เพื่อให้สามารถพัฒนาเกมโดยปรับกลไกเกมให้สะท้อนตัวเรื่องราวให้ได้ดีที่สุด
-
ควรพัฒนาเกมอย่างกระตือรือร้น เปิดรับความคิดเห็นที่สะท้อนกลับมา แต่เลือกปรับทิศทางตามที่เหมาะสม
-
ในขั้นตอนพัฒนาบอร์ดเกม ผู้ออกแบบต้องกล้าลองผิดลองถูก ให้เวลากับการบ่มเพาะไอเดีย กล้าแก้ไขทบทวน อาศัยการทำงานร่วมกันในทีม ไม่รีบกระโดดข้ามขั้นไปพัฒนากลไลเกมตั้งแต่แรก เพราะจากตัวอย่างของการประกวดก่อนหน้านี้ ผลผลิตสุดท้ายมักได้รับพัฒนาจนแตกต่างไปจากไอเดียตั้งต้นอย่างเห็นได้ชัด
-
กลไกเกมบางอย่างอาจเป็นกลไกซ้ำเดิม ไม่มีความเฉพาะเจาะจง สามารถเข้ากันได้กับเนื้อเรื่องหลากหลาย แต่มักมีจุดอ่อนตรงที่ไม่สามารถสะท้อนแก่นของเนื้อเรื่องของผู้พัฒนาออกมาได้ นี่จึงเป็นเรื่องที่ควรระวัง
-
การนำกลไกที่คุ้นเคยมาใช้ไม่ใช่ข้อห้าม แต่ผู้ออกแบบต้องเลือก หาจุดปรับให้เหมาะกับเนื้อหา ใส่รายละเอียดประกอบเข้ามาในเกม ให้เกิดความรู้สึกสอดคล้องกับเรื่องที่จะเล่า
-
การเล่นบอร์ดเกมหลากหลายจะช่วยให้ผู้ออกแบบมีประสบการณ์ต้นทุน สามารถทดลองนำกลไกจากเกมที่เคยเล่นมาผสมผสานในสัดส่วนกำลังดี ปรับปรุงบอร์ดเกมของตนให้ยืดหยุ่น มีมิติ และกลมกลืนขึ้นได้
-
ผู้ออกแบบจะได้เห็นผลลัพธ์ของเกมที่ออกแบบก็ต่อเมื่อเกิดการทดลองเล่น (playtest) ซึ่งไม่ใช่การทดลองเล่นเพียงในจินตนาการของผู้ออกแบบ การ playtest จะช่วยให้เห็นว่ากลไกออกแบบไว้ใช้งานได้จริงหรือไม่ การเล่นลื่นไหลจริงหรือเปล่า มีจุดบกพร่องตรงไหน สอดคล้องกับเรื่องและให้อารมณ์ความรู้สึกสนุกหรือไม่
-
หาเวลา หาพื้นที่ ลองไป playtest กับผู้เล่นหลายกลุ่ม เช่น ในร้านบอร์ดเกม ในงานปาร์ตี้ ในพื้นที่เปิด เพื่อให้เห็นสถานการณ์หลายแบบ ได้รับความคิดเห็นจากผู้คนหลากหลายประสบการณ์
-
ทบทวนกติกาการสมัคร โดยเฉพาะเรื่องการใส่ชื่อสมาชิกในทีม แต่ละคนสามารถเข้าร่วมทีมได้ทีมเดียว และส่งผลงานได้ทีมละ 1 ผลงานเท่านั้น
-
ทบทวนคำสำคัญในโจทย์ให้ดี “หนังสือที่ชอบ” “บอร์ดเกมที่ใช่” “บอร์ดเกมกล่องเล็ก” เพื่อให้บอร์ดเกมที่ออกแบบขึ้นมาตอบโจทย์ได้ทุกข้อ
-
หนังสือเล่มที่เลือกมาออกแบบบอร์ดเกม อาจเป็นนิยาย เรื่องสั้น หนังสือสารคดี หรือหนังสือจิตวิทยาพัฒนาตนเองก็ได้ และหากคัดลอกข้อความหรืองานสร้างสรรค์ที่มีลิขสิทธิ์ ควรตรวจสอบเรื่องการขออนุญาตให้ถูกต้อง
-
ความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาในหนังสือกับบอร์ดเกมต้องปรากฏชัด กล่าวคือ เมื่อเล่นแล้วต้องเกิดความรู้สึกถึงหนังสือเล่มนั้น หรือเห็นถึงประเด็นที่ซ่อนอยู่ภายใต้กลไกการเล่น (underlying statement) แก่นของเรื่องราวที่สอดคล้อง เป็นเหตุเป็นผลกัน หรือให้ประสบการณ์คล้ายคลึงกับการอ่านหนังสือเล่มนั้น ๆ
-
ผู้ออกแบบบอร์ดเกมอาจขยายความเป็นไปได้ใหม่โดยต่อยอดจากหนังสือเล่มที่เลือกมา เช่น การตีความจากหนังสืออย่างมีชั้นเชิง การเล่าเรื่องภาคต่อจากที่เล่าในหนังสือ การพลิกแพลงจากหนังสือ สร้างมุมมองใหม่ สลับบทบาทของตัวละครเพื่อเล่าคุณค่าแบบใหม่
-
ในขั้นตอนการพัฒนาเกม รายละเอียดเกี่ยวกับกติกา คำแนะนำ และเงื่อนไขรายละเอียดต่าง ๆ ต้องระบุกำกับไว้กับบอร์ดเกม เช่น กลุ่มอายุ เวลาเล่น ฯลฯ ผู้ออกแบบต้องประเมินให้สอดคล้องกับเป้าหมายของบอร์ดเกมอย่างสมเหตุสมผล เพื่อเป็นกรอบการพัฒนาเกม และคะแนนในส่วนนี้คือคะแนนด้านพัฒนาการในกระบวนการเรียนรู้
-
ไอเดียตั้งต้นที่ส่งเข้าประกวดคือหัวใจหลักของบอร์ดเกมที่จะพัฒนาในโครงการฯ ไม่สามารถเปลี่ยนได้ในรอบถัดไป ยกเว้นมีเหตุจำเป็นสุดวิสัย ซึ่งสุดท้ายผลงานจะนำมาเปรียบเทียบกับไอเดียตั้งต้นว่าได้พัฒนาขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
-
การนำเสนอไอเดียตั้งต้นเป็นคลิปวิดีโอ ควรร่างให้ครอบคลุมต้นเรื่อง จุดประสงค์ ภาพกว้าง และปลายทางของบอร์ดเกมที่ตั้งใจจะพัฒนา รวมถึงเล่ากลไกชิ้นใหญ่ หรือ Action Part ว่ากติกากำหนดให้ทำอะไรในแต่ละรอบ โดยไม่ต้องลงรายละเอียดมาก และบริหารเวลาเล่าองค์ประกอบทั้งหมดให้กระชับ มีรายละเอียด และมีบทสรุป
-
การออกแบบกราฟิกควรคำนึงถึงเป็นลำดับหลัง และใส่ใจกับกลไกเกมและผลทดสอบจาก playtest ก่อน แล้วใช้ไอค่อนหรือกราฟิกง่าย ๆ ในขั้นการจัดทำ protopype เพราะการออกแบบกราฟิกเป็นการลงทุนทั้งทรัพยากรและเวลา จึงไม่ควรนำขั้นตอนนี้มาเป็นปัจจัยในการตัดสินใจในระหว่างพัฒนาบอร์ดเกม
-
ผู้ออกแบบอาจใช้ภาพกราฟิกที่สร้างขึ้นโดย Generative AI ช่วยได้ แต่ควรศึกษาและวางแผน เพราะหากไม่คุ้นเคยกับการสร้าง prompt และการวางรูปแบบกราฟิกให้ตรงกับความต้องการของบอร์ดเกม อาจทำให้งานล่าช้าและเกิดอุปสรรคใหม่ให้กับกระบวนการผลิต
-
การวางแผนกระบวนการพัฒนางานตามขั้นตอนและกำหนดเวลา คือหัวใจหลักของการเข้าร่วมในโครงการนี้ การบริหารเวลาและทรัพยากรจึงสำคัญไม่แพ้การให้ทักษะความรู้และความคิดสร้างสรรค์
-
สำหรับลิขสิทธิ์ของบอร์ดเกมที่ออกแบบขึ้นจะเป็นของทีมผู้ออกแบบ โดย TK Park จะขออนุญาตใช้งานเพื่อประโยชน์ของสาธารณะเป็นเวลา 2 ปีหลังสิ้นสุดโครงการฯ เพียงเท่านั้น
สถาบันอุทยานการเรียนรู้ TK Park และสถาบันบอร์ดเกมเพื่อการเรียนรู้ (IBGL) กำหนดจัดกิจกรรม Roadshow อีกครั้ง ที่ TK Park ชั้น 8 centralwOrld ในวันสุดท้ายของการรับสมัครทีมนักออกแบบเข้าร่วมโครงการฯ (วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน 2567) ผู้ที่ลงทะเบียนล่วงหน้าเข้าร่วมงานและได้รับอีเมลยืนยันแล้ว อย่าลืมมาพบกันที่ TK Park