เจาะลึกการออกแบบห้องสมุดแห่งศตวรรษที่ 21 - ห้องสมุดในแง่ของการออกแบบ
สมัยนี้ห้องสมุดสาธารณะคลาคล่ำไปด้วยผู้คนเข้ามาใช้บริการ ถือเป็นที่พบปะเลยก็ว่าได้ มุมอ่านหนังสือเงียบๆ ก็มี การตกแต่งออกแบบภายในก็ล้ำยุค เน้นความโปร่ง ดูโล่งตา ไม่ได้ดูเก่าคร่ำครึเหมือนแต่ก่อน
รูปแบบการดำเนินงานที่เปลี่ยนไป ย่อมส่งกับการออกแบบและการวางผังอาคารห้องมุด เมื่อห้องสมุดสร้างอาคารใหม่หรือปรับปรุงอาคารเดิม ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ยกเครื่องห้องสมุดเพื่อตอบสนองความต้องการของสมาชิก
การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการให้บริการมีอิทธิพลต่อเจ้าหน้าที่ห้องสมุด สมาชิดคาดหวังว่าเจ้าหน้าที่ต้องดูเป็นมิตรพอที่ผู้มาใช้บริการสามารถสอบถามข้อมูล ช่วยเหลือเรื่องการเรียนรู้ ห้อสมุดในปัจจุบันจึงต้องออกแบบให้สอดรับกับการดำเนินงานและการให้บริการของเจ้าหน้าที่
เราคงเคยชินที่เห็นห้องสมุดในปลายศตวรรษที่ 20 ที่มักจะประกอบด้วยคุณสมบัติ 9 ประการ ดังนี้:
- เป็นสถานที่เงียบสงัด (ห้ามคุย, ห้ามกิน และห้ามดื่ม)
- ดูราวกับสุสานหนังสือที่มองไปทางไหนก็เห็นแต่หิ้งและชั้นหนังสือเต็มไปหมด
- โต๊ะสำหรับติดต่อยืมคืนหนังสือที่ดูน่ากลัวเพราะความใหญ่โต
- พื้นที่ใช้สอยน้อยเหลือเกิน
- สายตาเจ้าหน้าที่ห้องสมุดที่ระแวงว่าใครจะขโมยหนังสือตลอดเวลา
- มีทั้งพจนานุกรม สารานุกรม และหนังสืออ้างอิงเล่มโตๆ มากมายนับไม่หวาดไม่ไหว
- พื้นที่น่านั่ง มักจะอยู่ที่โถงอ่านหนังสือใหญ่
- ตั้งตระหง่านเป็นสัญลักษณ์ใจกลางเมือง
- น่าแปลกที่ยังมีการสร้างห้องสมุดลักษณะแบบนี้อยู่ในช่วง 5 หรือ 10 ปีที่ผ่านมา
ลักษณะเดิมๆ ก็ยังคงอยู่ แต่ก็เพิ่มอะไรใหม่ๆ เสริมเข้ามา ห้องสมุดแบบ ‘แนวๆ’ จึงมักมีคุณสมบัติ 11 ประการดังต่อไปนี้
- เป็นศูนย์ชุมนุมเพื่อการเรียนรู้แบบทันสมัย
- พื้นที่ดูโปร่งโล่งสบาย ที่มองเห็นสมาชิกง่าย และพร้อมให้บริการ
- มีมุมให้อ่านหนังสือตามจุดต่างๆ โดยรอบห้องสมุด
- มีพื้นที่หลากหลายสำหรับเด็กและวัยรุ่น
- มีทั้งห้องประชุม นัดพบปะ และทำกิจกรรม หลากหลายขนาด
- แสงแดดสาดส่องทั่วถึง
- ดูปลอดโปร่งและเชื่อมต่อกับพื้นที่ด้านนอก
- มีพื้นที่ใช้สอยสำหรับคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต และการค้นหาออนไลน์โดยเฉพาะ
- เสริมระบบให้การบริการด้วยตนเอง เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการของเจ้าหน้าที่
- พร้อมปรับเปลี่ยนตามสมัยรองรับความต้องการในอนาคต
- เป็นสถานพบปะที่เหมาะกับทุกเพศทุกวัย
เมื่อลักษณะของห้องสมุดเปลี่ยนไป จุดประสงค์ของผู้ไปห้องสมุดจึงเปลี่ยนไปดังนี้
- เพิ่มสื่อดิจิตอล ขณะเดียวกันก็ลดจำนวนหนังสือเล่ม
- สามารถยืมคืนหนังสือด้วยตนเอง ไม่ต้องมีโต๊ะให้บริการ
- มีจุดค้นหาหนังสือทแบบออนไลน์กระจายอยู่ทั่วห้องสมุด
- มีบริการอินเตอร์เน็ตไร้สาย สนับสนุนให้สมาชิกนำโน้ตบุ้คมาเอง เพื่อลดปริมาณคอมพิวเตอร์ในห้องสมุด
- มีระบบจัดการทรัพยากรอัตโนมัติในห้องสมุดขนาดใหญ่ เพื่อลดภาระเจ้าหน้าที่และลดเวลาที่สมาชิกจะต้องคอยการให้บริการ
- พนักงานเป็นมิตร มีประสิทธิภาพ ใกล้ชิดผู้มาใช้บริการ
- มีโปรแกรมการเรียนรู้สำหรับเด็กและเยาวชนเพิ่มมากขึ้น
- มีมุมร้านกาแฟ เพื่อการพบปะ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น สร้างสังคมการเรียนรู้
- มีห้องและส่วนของนิทรรศการ ประชุม หรือพบปะตามวาระที่เปิดกว้างมากขึ้น
ไม่ว่าจะสร้างขึ้นมาใหม่หรือปรับปรุงใหม่ ก็ไม่ควรทำให้ซ้ำรอยเดิมเหมือนศตวรรษที่ผ่านๆมา แต่ควรเน้นบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความคิด และเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย ในขณะเดียวกันก็พร้อมปรับเปลี่ยนโฉม เพื่อรองรับกับความทันสมัยที่จะมีมาเรื่อยๆ
Peter Gisolfi เป็นสถาปนิกมืออาชีพด้านภูมิสถาปัตยกรรม เป็นอาจารย์ประจำวิชาสถาปัตยกรรมที่ Spitzer School of Architecture ณ. City College of New York เขียนเรื่อง Finding the Place of Architecture in the Landscape และเป็นหุ้นส่วนหลักที่ Peter Gisolfi Associates, Architects and Landscape Architects สามารถติดต่อเขาโดยตรงได้ที่ pgisolfi@petergisolfiassociates.com
แปลและดัดแปลงจากบทความของ Peter Gisolfi เรื่อง UpClose: Designing 21st-Century Libraries | Library by Design
ภาพประกอบจาก http://lj.libraryjournal.com/ และ http://pixabay.com/